๑.๑ ลักษณะของไข้ ซึ่งเมื่อเวลาจับ และกำลังวัน จะบอกว่า ไข้นั้นเป็นไข้ประเภทใด มี ๓ สถาน คือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๑.๑ ไข้เอกโทษ เิริ่มจับเวลาย่ำรุ่ง ถึง บ่าย ๒ โมง แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๑.๒ ไขุ้ทุวันโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่ง ถึง ๒ ทุ่ม แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ คลายลง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๑.๓ ไข้ตรีโทษ เริ่มจับเวลาย่ำรุ่งถึงตี ๒ แล้วต่อถึงรุ่งเช้า แล้วไข้นั้นจะค่อยๆ ส่างคลายลง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๒ ลักษณะของวันเวลา ที่ไข้กำเริบ มี ๔ สถาน คือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๒.๑ กำเดา กำเริบ ๔ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๒.๒ เสมหะ กำเริบ ๙ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๒.๓ โลหิต กำเริบ ๗ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๒.๔ ลม กำเริบ ๑๓ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๓ กำลังของธาตุกำเริบ มี ๔ สถานคือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๓.๑ ตติยะชวร คือนับจากวันที่เิริ่มไข้ ไปจนถึง ๔ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๓.๒ ดรุณชวร คือนับจากวันที่ ๕ ไปถึงวันที่ ๗ รวม ๓ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๓.๓ มัธยมชวร คือนับจากวันที่ ๘ ไปถังวันที่ ๑๕ รวม ๘ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๓.๔ โบราณชวร คือนับจากวันที่ ๑๖ ไปถึงวันที่ ๑๗ รวม ๒ วัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ต่อไปจากนี้ ธาตุต่างๆ ได้พิการไปแล้วโดยไม่มีกำหนด วันเวลาว่านานเท่าไร ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๔ ลักษณะของไข้ กล่าวไว้ว่า แสดงโทษ ดังต่อไปนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.๔.๑ ไข้เอกโทษ มี ๓ สถานคือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. กำเดาสมุฎฐาน มีอาการจิตให้ฟุ้งซ่าน ปวดหัว คลุ่มคล้่ง จิตหวั่นไหว ตัวร้อนจัด นัยน์ตา เหลือง แต่ปัสสาวะแดง อาเจียนมีสีเหลือง กระหายน้ำ ปากขม น้ำลายแห้ง ผิวหนังแตกระแหง ผิวหน้าแดง ตัวเหลือง กลางคืนนอนไม่หลับ เวลจับ จิตใจมักเคลิ้มหลงไหล น้ำตาไหล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๒. เสมหะสมุฎฐาน มีอาการหนาวมาก ขนลูกชันทั่วตัว จุกในอก แสยงขน กินอาหารมิได้ ปาก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หวาน ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟ้นแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้ง น้ำลายเหนียว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๓. โลหิตสมุฎฐาน ( ไข้เพื่อโลหิต) มีอาการตัวร้อนจัด ปวดหัว กระหายน้ำ เจ็บตามเนื้อตามตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัสสาวะเหลือง ผิวตัวแดง ฟันแห้ง ลิ้นคางแข็ง ปากแห้ง น้ำลายเหนียว
|
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓-๔ วัน ให้มีอาการนอนสะดุ้ง หมดสติ เพ้อ เรอ อาเจียนแต่น้ำลาย มือและ เท้าเย็น โรคนี้ตาย ๒ ส่วน ไม่ตาย ๑ ส่วน ทั้งนี้เป็นโทษแห่งวาโยธาตุ ถ้าแก้มือเท้าเย็นให้ร้อนไม่ได้ อาการจะทรง เรื้อรังไปถึง ๙ วัน ๑๐ วัน จะตายอย่างแน่แท้ | ||||||||||||
๑.๕.๒๒ ลักษณะไข้แห่งวาโยธาตุ คือ | ||||||||||||
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๔ วัน มีอาการท้องเดิน บางทีมีเสมหะ และโลหิตตามช่องทวารทั้งหนัก และและเบา บางทีอาเจียนเป็นโลหิต ไข้ใดเป็นดังนี้ เป็นเพราะอาโปธาตุบันดาลให้เป็นไป ถ้ารักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น อยู่เป็นเวลา ๘-๙ วัน ต้องตายแน่นอน | ||||||||||||
๑.๕.๒๓ ลักษณะไข้แห่งเตโชธาตุ คือ | ||||||||||||
ไข้ใดเมื่อล้มไข้ลงได้ ๓-๔ วัน มีอาการร้อนไปทั้งตัว ทั้งภายนอก ภายใน ทุรนทุราย หัวใจสับสน ต้องใช้น้ำเช็ดตัวไว้เสมอ ลิ้นแห้ง คอแห้ง แห้งในอก กระหายน้ำ คลั่งไคล้ หมดสติไป ให้เจ็บโน่น เจ็บนี่ทั่วร่างกาย คล้ายคนมีมารยา อยากกินของแสลง ดุจผีปอป(ฉะมมปอป) อยู่ภายใน โทษนี้ คือโทษ แห่งเตโชธาตุ ถ้าแก้ความร้อน ไม่ตก และอาการยืนอยู่ต่อไป ๗-๘ วัน ต้องตายแน่ ต่อไปนี้ ขอให้แพทย์ให้จำไว้ให้แม่นยำว่า ไข้เอกโทษ ทุวันโทษ และไข้ตรีโทษนั้น ถ้ามีการทับสลับกัน ทำ ให้มีอาการผิดแปลกไปดังต่อไปนี้ | ||||||||||||
๑. ลมเป้นเอกโทษ มักจะเกิดกับบุคคลอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป ในฤดูวัสสานฤดู เริ่มแต่หัวค่ำ ให้สะท้านร้อน สะท้าน สะท้านหนาว ปากคอ เพดานแห้ง เจ็บไปทุกเส้นเอ็น ทั่วตัว( ปวดเมื่อย) เป็นพรรดึก นอนไม่หลับ จับแต่หัวค่ำ และ จะค่อยๆ คลายลงภายใน ๔ นาฑี เรียกว่า เอกโทษลม ถ้าไข้นั้นไม่คลายไป จนถึงเที่ยงคืน ก็จะเข้าเป็น ทุวันโทษ เกิดเป็นเสมหะกับลม และถ้าไข้นั้นยังไม่คลาย จับต่อ ไป ถึงย่ำรุ่งตลอดไปถึงเที่ยงวัน เรียกว่า ตรีโทษ ประชุมกันเป็นสันนิบาต ท่านว่า ถ้าลมเป็นเอกโทษ พ้น ๗ วัน จึงวางยา ถ้าไม่ถึง ๗ วัน ไข้นั้นกำเริบ คือไข้ยังจับต่อไปอีก ให้แพทย์รีบ วางยา | ||||||||||||
๒. ดีเป็นเอกโทษ มักเกิดกับบุคคลอายุ ๓๐-๔๐ ปี ไข้จะเกิดในคิมหันตฤดู เริ่มแต่เที่ยงวัน มีอาการตัวร้อน คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ กระวนกระวายใจ มึนซึม ในคอมีเสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะมี สีเหลืองปนแดง เหงื่อไหล เรียกว่าเอกโทษดี จับแต่เที่ยงไป ๕ นาฑี ก็จะคลาย ุถ้าดีเป็นเอกโทษ จับไข้ยังไม่คลาย จับไปจนถึงค่ำก็เข้าเป็นทุวันโทษ เกิดเป็นลมระคนดี ถ้าไข้นั้นยังไม่คลาย ลงจนถึงเที่่่ยงคืน และจับต่อไปจนรุ่งเช้า ท่านว่าเป็นสันนิบาตตรีโทษ ให้รีบวางยา ท่านว่า ถ้าจับเอกโทษดี เริ่มจับแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ๔-๕ นาฑี ก็จะสร่างคลาย กำหนด ๙ วัน จึงวางยา
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น